การวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด มีกี่คน บุตรแต่ละคนห่างกันกี่ปี โดย


วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว  : ใช้สำหรับต้องการเว้นระยะห่างของลูก
วิธีคุมกำเนิดแบบถาวร   
: โดยทำหมันเมื่อมีลูกพอแล้ว 

       
การวางแผนครอบครัว เป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดและตกลงร่วมกันกับสามีหรือภรรยา
หากไม่วางแผนเมื่อมีลูกแล้วเราอาจจะไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ชีวิตครอบครัวจะมีปัญหา

หากวางแผนครอบครัวไม่ดี เช่น เราอาจจะมีลูกมากเกินไปทำให้ดูแลได้ไม่เต็มที่



ควรจะมีลูกเมื่อไร?

  1. มีความพร้อมด้านจิตใจ คู่สมรสที่ต้องการมีลูกเท่านั้นจึงควรจะมีลูกได้ คู่สมรสจะต้องเตรียมใจและเต็มใจที่จะได้ชื่นชมลูกที่เกิดมา
  2. สามีภรรยาที่มีการปรับตัวในชีวิตสมรสดีเท่านั้นที่ควรจะมีลูก 
  3. เมื่อสุขภาพร่างกายของมารดาแข็งแรงดี จะเป็นผลทำให้ลูกที่เกิดมา มีสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตดี 
  4. เมื่อมีความพร้อมด้านเศรษฐกิจ การมีลูกจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวมาก 
  5. เมื่อมีเวลาที่จะดูแลลูก การที่ลูกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ ให้ความรัก ความอบอุ่น กับลูกของบิดามารดา 
ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว 


  1. ช่วยให้คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงาน ได้มีโอกาสปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันก่อนมีลูก
  2. ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดี ลูกมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูง 
  3. คู่สมรสสามารถเว้นระยะการมีลูกหรือจำกัดขนาดของครอบครัวได้ 
  4. คู่สมรสมีโอกาสสร้างฐานะการเงินให้มั่นคงได้ 
  5. สุขภาพของผู้เป็นมารดาไม่ทรุดโทรม สามารถดูแลครอบครัวได้เต็มที่

วิธีการวางแผนครอบครัว

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว

เพศหญิง

1.ยาเม็ดคุมกำเนิด
เป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายไม่จำเป็นต้องพบแพทย์
ในยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่ประกอบด้วยฮอร์โมนสองชนิดคือเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจน
คุณสมบัติ มีส่วนช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่สุก ทำให้เยื่อบุมดลูกไม่เจริญเต็มที่จึงไม่เกิดการปฏิสนธิ ไม่มีการตั้งครรภ์
การรับประทาน เม็ดแรกรับประทานในวันที่ห้าของการเป็นประจำเดือน รับประทานยาเรียงไปตามลูกศรวันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วเริ่มแผงต่อไปได้โดยไม่ต้องหยุดยา หรือคำนึงถึงประจำเดือน ผู้ที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดส่วนใหญ่ประจำเดือนจะมาปกติทุกเดือน และมาอย่างสม่ำเสมอ


2.ยาฉีดคุมกำเนิด

ต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ฉีดยาให้ โดยฉีดภายใน 5 วันแรกของการเป็นประจำเดือน(ฉีดเข้ากล้าม)  
คุณสมบัติ เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดคือยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่สุก


ยาฉีดคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดชั่วคราวที่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีลูกแล้ว หรืออยู่ในระยะหลังคลอด และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดได้ โดยยาฉีดคุมกำเนิดแต่ละเข็ม จะมีผลป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 1 หรือ 3 เดือน
 
   3.ยาฝังคุมกำเนิด (แคปซูลฝังคุมกำเนิด)
เป็นลักษณะแคปซูลหลอดยาขนาดเล็ก  ๆ  6 ชิ้น เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฝังไว้ใต้ผิวหนัง (ฝังบริเวณต้นแขนด้านใน เหนือข้อศอก โดยจะฉีดยาชาก่อนฝังยา) การฝังแคปซูลจะเรียงแคปซูลทั้ง 6 ชิ้นเป็นรูปพัด ฝังแล้ว 24 ชั่วโมงยาจึงจะออกฤทธิ์ ตัวยาจะซึมเข้าสู่กระแสโลหิตอย่างสม่ำเสมอ  เข้าไปควบคุมระบบการเป็นประจำเดือน
ฝังยา 1 ครั้งสามารถคุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี
ตำแหน่งในการฝังยาคุมกำเนิดคือ ต้นแขนซ้ายด้านใน
(หรือแขนขวาสำหรับคนถนัดซ้าย) ก่อนฝังยาจะฉีดยาชาบริเวณที่ฝัง
ยาคุมกำเนิดเพื่อไม่ให้ปวด ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที แผลมีขนาดเล็กมาก ไม่ต้องเย็บแผล
4.ห่วงอนามัย
ห่วงอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิดชนิดชั่วคราว ที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ ได้นาน3-5ปี
ห่วงอนามัยทำหน้าที่ขัดขวางการปฏิสนธิของไข่กับตัวอสุจิหรือหากขัดขวางการปฏิสนธิไม่เป็นผลจะขัดขวางการฝังตัวที่เยื่อบุมดลูก






5.ยาเม็ดฟองฟู่หรือยาสอดคุมกำเนิด
ยาเม็ดฟองฟู่หรือยาสอดคุมกำเนิดมีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายโดนัท ขนาดเท่าเหรียญบาท
คุณสมบัติ  ยาเม็ดฟองฟู่หรือยาสอดคุมกำเนิดมีฤทธิ์เป็นตัวทำลายเชื้ออสุจิของฝ่ายชายทำให้เชื้อ  อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิงไม่ได้ การตั้งครรภ์จึงไม่เกิดขึ้น โดยจะใส่ไว้ในช่องคลอด 3
5 นาทีตัวยาจึงจะออกฤทธิ์ สามารถคุมกำเนิด
ได้นาน 1 ชั่วโมง


6.ยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉิน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสุกของไข่  ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ ซึ่งหลายคนคิดว่า เป็นยาวิเศษ มีเพศสัมพันธ์เมื่อไหร่ ก็กินยานี้เข้าไป จะป้องกันได้ 100% แต่ผิดถนัด เพราะยานี้ได้ผลในการคุมกำเนิด น้อยกว่ายาคุมแบบกินทุกวันเสียอีก และมีผลข้างเคียงรุนแรง ถ้าหากกินเรื่อยๆ บ่อยๆ ก็จะทำให้การทำงานของร่างกาย ผิดปกติไป ยาหนึ่งชุดจะมี 2 เม็ด
วิธีใช้ยา    เม็ดแรกทานภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์ เม็ดที่ 2 รับประทานภายใน12 ชั่วโมงหลังจากทานเม็ดแรก


7.การนับระยะปลอดภัย
การนับระยะปลอดภัย หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ยังไม่สุกก็จะไม่มีการตั้งครรภ์  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ และจะต้องรู้วันที่มีไข่สุกแน่นอน ซึ่งควรบันทึกการมีประจำเดือนในรอบ 1 ปีไว้ก่อน เพื่อหาค่าเฉลี่ยของวันไข่สุก จะได้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในวันที่ไข่สุก ซึ่งเป็นช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ หรือจะใช้วิธีนับ 7 วันก่อนหรือหลังของรอบประจำเดือน ซึ่งเป็นระยะปลอดภัย ที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ โดยไม่ตั้งครรภ์ แต่ วิธีนี้มีโอกาสที่จะผิดพลาด และเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูงมาก

 

เพศชาย
1.ถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัยใช้สวมอวัยวะเพศชายเพื่อคุมกำเนิด เป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิผสมกับไข่ในเพศชาย ซึ่งเป็นที่นิยม สะดวก และถุงยางอนามัยก็สามารถหาซื้อได้ง่าย 
ข้อดีคือ นอกจากจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน ได้อีกด้วย
ข้อเสียของวิธีนี้คือ หากสวมใส่ได้ไม่ถูกวิธี หรือใช้ถุงยางที่เสื่อมสภาพก็อาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
ในการเลือกซื้อจะต้องดูวัน/เดือน/ปีที่หมดอายุด้วย


   2.การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด 


การคุมกำเนิดแบบถาวร
1.การทำหมันชาย 
เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีลูกพอแล้ว สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ใช้เวลาเพียง15
20 นาทีเท่านั้น แพทย์จะฉีดสเปรย์ชาแล้วเจาะนำเอาท่อทางเดินอสุจิออกมาตัดให้ขาดแล้วผูกปลายทั้งสองข้างให้ปิดสนิท ทำให้ตัวอสุจิผ่านออกมาไม่ได้ หลังจากทำหมันแล้วจะมีการหลั่งน้ำอสุจิตามปกติแต่จะไม่มีตัวอสุจิปนออกมาดังนั้น ในระยะ 3 เดือน หลังทำหมัน ถ้าจะมีเพศสัมพันธ์ ให้ใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย จึงจะป้องกันการตั้งครรภ์ อย่างได้ผล หรือจะให้แน่ใจ ควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจน้ำเชื้อว่า ไม่มีตัวอสุจิแล้ว


   2.การทำหมันหญิง
เป็นการคุมกำเนิดชนิดถาวร โดยการผูกหรือตัดที่ท่อนำไข่ทำให้ท่อตัน ไข่และตัวอสุจิไม่สามารถมาพบและผสมกันได้ การทำหมันหญิง สามารถทำได้
2 ช่วง คือ
   1.ช่วงหลังคลอดใหม่ๆ หรือภายใน
48 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า หมันเปียก เป็นการทำหมันทางหน้าท้อง โดยผ่าลงไปในช่องท้องตรงใต้สะดือ
   2.ช่วงเวลาปกติ คือจะทำหมันในระยะใดก็ได้ เรียกว่า หมันแห้ง มักจะผ่าลงไปในช่องท้องเหนือหัวเหน่าหลังจากทำหมันหญิงแล้ว จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที และประจำเดือนจะมาตามปกติ มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิมทุกประการ



ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

ชุมชน คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์และวัฒนธรรมประเพณีร่วมกัน  
การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ ให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี

ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีมี 3 ประการ คือ
1.  คน เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก หากสมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดี ชุมชนก็จะดีด้วย
2.  สถานที่  เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดี   
3.  ระบบสังคม เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ ระบบการคมนาคม โดยชุมที่มีระบบสังคมที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี   
นอกจากนั้นการที่จะทำให้ชุมชนมีสุขภาพดี ยังต้องอาศัยความสามารถจากผู้พัฒนาชุมชน และความร่วมมือร่วมใจกันของสมาชิกในชุมชน จึงจะทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีและมีความสุข

แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ
-ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย 
-ดูแลการโภชนาการ ทั้งอาหารและน้ำ 
-ดูแลการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ
-พักผ่อนให้เพียงพอ
- ส่งเสริมสุขภาพจิต ผ่อนคลายความตึงเครียด มองโลกในแง่ดี ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีอารมณ์ขัน
-ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 


ชุมชนกับการป้องกันโรค

โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค   
โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ     โรคที่เป็นปัญหาในขุมชน หมายถึง โรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยในชุมชน การที่แต่ละชุมชนมีลักษณะทางสภาพแวดล้อม และมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
                การป้องกันโรคในชุมชนสามารถทำได้ง่ายๆโดยอาศัยวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนนั้นๆ  ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไป โดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือ การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วย การป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ    


ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่น่าสนใจ
1.การแพทย์แผนไทย( Thai Traditional Medicine )
- การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทย โดยการนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่นกระตุ้นระบบประสาทและการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง
- การประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม   แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
2. ความเชื่อและศาสนา
- การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบกายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้     โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค    -โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ     โรคที่เป็นปัญหาในขุมชน หมายถึง โรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยในชุมชน การที่แต่ละชุมชนมีลักษณะทางสภาพแวดล้อม และมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน

แนวทางในการป้องกันโรค
1.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน
2.การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ำดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนำโรค
3.อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

หลักในการป้องกันโรคแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
1.การป้องกันโรคล่วงหน้า
     วิธีนี้ได้ผลในการป้องกันโรคดีที่สุด  โดยการปรับปรุงความเป็นอยู่หรือสภาพแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น
2.การป้องกันโรคในระยะที่เกิดขึ้นแล้ว
     โดยกำหนดแนวทางในการระงับกระบวนการเกิดโรค  ป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชนเพื่อลดการเจ็บป่วย
3. การป้องกันภายหลังการเกิดโรค
    เพื่อป้องกันการเกิดความพิการหรือการไร้สมรรถภาพที่จะประกอบอาชีพได้ตามปกติ   หรือเพื่อลดผลเสียจากโรคแทรกซ้อน

วิธีการทำให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมกับการดำเนินงาน
1.  การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.   การมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยสมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ
3.  การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพ โดยสมาชิกต้องร่วมกันทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ 
4.  การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
5.  การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาขิกต้องนำผลการจัดทำกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนการสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน เพราะการทำงานร่วมกันของสมาขิกในชุมชนจะทำให้สิ่งต่างๆดีและง่ายขึ้น นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิดความเข้มแข็งของคนในชุมชนอีกด้วย 

                        http://www.thaigoodview.com/node/94041
                        http://kbusociety.eduzones.com/th/archives/1091