ชุมชนกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

ชุมชน คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์และวัฒนธรรมประเพณีร่วมกัน  
การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ ให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี

ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีมี 3 ประการ คือ
1.  คน เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก หากสมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดี ชุมชนก็จะดีด้วย
2.  สถานที่  เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดี   
3.  ระบบสังคม เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ ระบบการคมนาคม โดยชุมที่มีระบบสังคมที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี   
นอกจากนั้นการที่จะทำให้ชุมชนมีสุขภาพดี ยังต้องอาศัยความสามารถจากผู้พัฒนาชุมชน และความร่วมมือร่วมใจกันของสมาชิกในชุมชน จึงจะทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีและมีความสุข

แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ
-ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย 
-ดูแลการโภชนาการ ทั้งอาหารและน้ำ 
-ดูแลการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ
-พักผ่อนให้เพียงพอ
- ส่งเสริมสุขภาพจิต ผ่อนคลายความตึงเครียด มองโลกในแง่ดี ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีอารมณ์ขัน
-ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 


ชุมชนกับการป้องกันโรค

โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค   
โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ     โรคที่เป็นปัญหาในขุมชน หมายถึง โรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยในชุมชน การที่แต่ละชุมชนมีลักษณะทางสภาพแวดล้อม และมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
                การป้องกันโรคในชุมชนสามารถทำได้ง่ายๆโดยอาศัยวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนนั้นๆ  ทุกชุมชนมีวิถีการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีภูมปัญญาที่แตกต่างกันออกไป โดยภูมิปัญญาเหล่านั้นได้ผ่านการลองผิดลองถูก และกลายมาเป็นภูมิปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือ การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อยเป็นต้น ดังนั้นภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาอาการเจ็บป่วย การป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพ    


ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่น่าสนใจ
1.การแพทย์แผนไทย( Thai Traditional Medicine )
- การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทย โดยการนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่นกระตุ้นระบบประสาทและการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง
- การประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม   แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
2. ความเชื่อและศาสนา
- การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบกายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้     โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค    -โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ     โรคที่เป็นปัญหาในขุมชน หมายถึง โรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยในชุมชน การที่แต่ละชุมชนมีลักษณะทางสภาพแวดล้อม และมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน

แนวทางในการป้องกันโรค
1.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน
2.การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ำดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนำโรค
3.อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

หลักในการป้องกันโรคแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
1.การป้องกันโรคล่วงหน้า
     วิธีนี้ได้ผลในการป้องกันโรคดีที่สุด  โดยการปรับปรุงความเป็นอยู่หรือสภาพแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น
2.การป้องกันโรคในระยะที่เกิดขึ้นแล้ว
     โดยกำหนดแนวทางในการระงับกระบวนการเกิดโรค  ป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชนเพื่อลดการเจ็บป่วย
3. การป้องกันภายหลังการเกิดโรค
    เพื่อป้องกันการเกิดความพิการหรือการไร้สมรรถภาพที่จะประกอบอาชีพได้ตามปกติ   หรือเพื่อลดผลเสียจากโรคแทรกซ้อน

วิธีการทำให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมกับการดำเนินงาน
1.  การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.   การมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยสมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ
3.  การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพ โดยสมาชิกต้องร่วมกันทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ 
4.  การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
5.  การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาขิกต้องนำผลการจัดทำกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนการสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน เพราะการทำงานร่วมกันของสมาขิกในชุมชนจะทำให้สิ่งต่างๆดีและง่ายขึ้น นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิดความเข้มแข็งของคนในชุมชนอีกด้วย 

                        http://www.thaigoodview.com/node/94041
                        http://kbusociety.eduzones.com/th/archives/1091


1 ความคิดเห็น: